เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [8. วังคีสสังยุต] 5. สุภาสิตสูตร

3. กล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รักอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก
4. กล่าวแต่วาจาจริงอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาเหลาะแหละ
ภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ 4 เหล่านี้แล เป็นสุภาษิต ไม่เป็น
ทุพภาษิต ไม่มีโทษ และวิญญูชนทั้งหลายไม่ติเตียน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
สัตบุรุษทั้งหลายกล่าววาจาสุภาษิตว่าเป็นวาจาสูงสุด
บุคคลพึงกล่าววาจาที่เป็นธรรม
ไม่พึงกล่าววาจาที่ไม่เป็นธรรมเป็นที่สอง
บุคคลพึงกล่าววาจาอันเป็นที่รัก
ไม่พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รักเป็นที่สาม
บุคคลพึงกล่าววาจาจริง
ไม่พึงกล่าววาจาเท็จเป็นที่สี่
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือ
ไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
ผู้มีพระภาค เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้
ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่เธอเถิด วังคีสะ”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาทั้งหลาย
อันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ว่า
บุคคลพึงกล่าวแต่วาจา
ที่ไม่เป็นเหตุทำให้ตนเดือดร้อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 15 หน้า :309 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [8. วังคีสสังยุต] 6. สารีปุตตสูตร

และไม่เป็นเหตุเบียดเบียนชนอื่น
วาจานั้นแลเป็นสุภาษิต
บุคคลพึงกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รัก
ที่ชนทั้งหลายชื่นชอบ ไม่พึงพูดหยาบคายต่อชนเหล่าอื่น
พึงพูดแต่วาจาอันเป็นที่รัก
คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย
ธรรมนี้เป็นของเก่า
สัตบุรุษทั้งหลายตั้งมั่นแล้วในคำสัตย์
ทั้งที่เป็นอรรถและเป็นธรรม
พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด อันเกษม
เพื่อบรรลุนิพพาน เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์
พระวาจานั้นแล สูงสุดกว่าวาจาทั้งหลาย1

สุภาสิตสูตรที่ 5 จบ

6. สารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตร

[214] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย
เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ
ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ด้วยวาจาชาวเมือง ที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้
ความหมายได้ ส่วนภิกษุเหล่านั้นต่างก็ใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วย
ความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่